การกำกับดูแลกิจการ

  1. หน้าหลัก
  2. >>
  3. การกำกับดูแลกิจการ
  4. >>
  5. นโยบาย
  6. >>
  7. นโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหาร

นโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหาร

1. บทนำ

บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้จัดทำและนำนโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์ ของกรรมการ ผู้บริหาร เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติต่อไป

2. วัตถุประสงค์

นโยบายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ
  2. สนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหารของบริษัทฯ ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (“พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ”) เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน และประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) เกี่ยวกับการรายงานการถือหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน
  3. ดำรงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทฯ

3. ขอบเขต

  1. นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร ของบริษัทฯ นอกจากนี้ เนื้อหาบางส่วนของนโยบายยังครอบคลุมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวด้วย
  2. นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

4. คำนิยาม

ข้อความ หรือ คำใดๆ ในนโยบายฉบับนี้ ให้มีความหมายดังต่อไปนี้ เว้นแต่ ข้อความดังกล่าวจะแสดงหรือได้อธิบายไว้เป็นอย่างอื่น

  1. “นโยบาย” หมายถึง นโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหาร
  2. “บริษัทฯ” หมายถึง บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน)
  3. “หลักทรัพย์” หมายถึง หุ้น (สามัญและบุริมสิทธิ) และหลักทรัพย์แปลงสภาพ ได้แก่ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrants) หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (Transferable Subscription Rights (“TSR”)) สิทธิในการซื้อหุ้น (Stock Options) ตราสารอนุพันธ์ (เช่น ฟิวเจอร์ส และ ออฟชั่น) และตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดการเงิน
  4. “การซื้อขาย” หมายถึง การซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน หลักทรัพย์ และ/หรือ ผลประโยชน์ต่างๆ ทางกฎหมายในหลักทรัพย์ รวมทั้ง การใช้สิทธิในการซื้อหุ้น หรือใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ
  5. “ข้อมูลภายใน” หมายถึง ข้อเท็จจริงอนเป็นสาระสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งยังไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตัวอย่างของข้อมูลภายใน ได้แก่
  1. ฐานะทางการเงินและผลประกอบการทางการเงิน
  2. การคาดการณ์ทางการเงิน (Financial Projections)
  1. การจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผล
  2. การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับหนี้สิน (Credit Rating)
  3. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์
  4. การเรียกไถ่ถอนหลักทรัพย์
  5. แผนธุรกิจ รวมถึง แผนเชิงกลยุทธ์ แผนการตลาด และแผนการระดมทุน
  6. การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแผนการลงทุน หรือโครงการลงทุน
  7. การ่วมทุน การควบรวมกิจการ หรือการขายกิจการ
  8. การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทอื่น
  9. การซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่สำคัญ
  10. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สำคัญ
  11. การได้มา หรือสูญเสียสัญญาทางการค้าที่สำคัญ
  12. ข้อพิพาททางกฎหมายที่สำคัญ
  13. การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
  14. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่สำคัญ
  15. การเปลี่ยนแปลงอำนาจควบคุม หรือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้บริหารระดับสูง

  6. “กรรมการ” หมายถึง กรรมการของบริษัทฯ

  7. “ผู้บริหาร” หมายถึง กรรมการผู้จัดการ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารสี่รายแรกนับต่อจากกรรมการผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่สี่ทุกราย และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า ของบริษัทฯ (ตามนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต.)

  8. “บุคคลที่บริษัทฯ กำหนด” หมายถึง บุคคลที่มีตำแหน่งหรือหน้าที่ ซึ่งล่วงรู้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ (รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว) ตัวอย่างของบุคคลซึ่งอาจล่วงรู้ข้อมูลภายในได้แก่

 1. กรรมการ

2. ผู้บรหาร

3. พนักงานในหน่วยงาน ดังนี้ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และเลขานุการบริษัท ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายการตลาด

4. พนักงานทุกคนที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ คณะกรรมการชุดย่อยในระเบียบวาระที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ตามข้อ 4. (4)

5. บุคคลอื่นใดที่บริษัทฯ กำหนด

ทั้งนี้ เลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนรายชื่อบุคคลที่บริษัทฯ กำหนด และแจ้งให้บุคคลดังกล่าวทราบ เมื่อถูกเพิ่มหรือลบรายชื่อในทะเบียนดังกล่าว

5. หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายฉบับนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลที่บริษัทฯ กำหนด ได้ปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
  2. เลขานุการบริษัท มีหน้าที่หลักในการนำนโยบายฉบับนี้ไปปฎิบัติใช้ รวมทั้ง ติดตามประสิทธิผลตลอดจนชี้แจงตอบข้อซักถาม
  3. ผู้บริหารมีหน้าที่รับผิดชอบ และทำให้มั่นใจว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีความเข้าใจนโยบายฉบับนี้ รวมทั้งปฎิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด
  4. กรรมการ และผู้บริหาร จะต้องปฎิบัติตามนโยบายฉบับนี้อย่างเคร่งครัด รวมทั้งสื่อสารนโยบายฉบับนี้ให้คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้รับทราบ

6. นโยบายและแนวทางปฎิบัติ

6. ข้อห้ามในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน

กรรมการ และผู้บริหาร ต้องปฎิบัติตามข้อห้ามในการซื้อขายหลักทรัพย์โดยการใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 241 “ในการซื้อหรือขายซึ่งหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ห้ามมิให้บุคคลใดทำการซื้อหรือขาย หรือเสนอซื้อ หรือเสนอขาย หรือชักชวนให้บุคคลอื่น ซื้อ หรือขาย หรือเสนอซื้อ หรือเสนอขาย ซึ่งหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในประการที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบต่อบุคคลภายนอก โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อประชาชน และตนได้ล่วงรู้มาในตำแหน่งหรือฐานะเช่นนั้นและไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะกระทำเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง หรือผู้อื่น หรือนำข้อเท็จจริงเช่นนั้น ออกเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าว โดยตนได้รับประโยชน์ตอบแทน”

6. ช่วงเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์

  1. ห้ามบุคคลที่บริษัทฯ กำหนด ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงเวลา 30 วัน ก่อนการเปิดเผยงบการเงิน

  ประจำรายไตรมาสและประจำปี และช่วงเวลาอื่นที่บริษัทฯ จะกำหนดเป็นครั้งคราว

  1. ในสถานการณ์พิเศษ บุคคลที่บริษัทฯ กำหนดอาจขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในระหว่างช่วงเวลาห้ามซื้อขาย

หลักทรัพย์ได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์ เช่น มีความยากลำบากทางการเงินอย่างรุนแรง หรือต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ทางกฎหมาย หรือตกอยู่ภายใต้คำสั่งศาล โดยต้องจัดทำบันทึกระบุเหตุผลเสนอขออนุมัติต่อ

 
 
  1. ประธานกรรมการ (กรณีผู้ขายเป็นกรรมการหรือเลขานุการบริษัท)
  2. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (กรณีผู้ขายเป็นประธานกรรมการ)
  3. กรรมการผู้จัดการ (กรณีผู้ขายเป็นบุคคลที่บริษัทฯ กำหนดซึ่งไม่ใช่กรรมการและเลขานุการบริษัท)

ทั้งนี้ ให้จัดส่งสำเนาบันทึกดังกล่าวให้แก่เลขานุการบริษัทด้วย
       6.2.3 เลขานุการบริษัท จะประกาศช่วงเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ให้บุคคลที่บริษัทฯ กำหนด ทราบเป็นการล่วงหน้า

6.3   การรายงานการถือหลักทรัพย์

6.3.1     การรายงานครั้งแรก

  • (1)  กรรมการ และผู้บริหาร ของบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานการถือหลักทรัพย์ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตามแบบ 59-1 (เอกสารแบบ 1) ของสำนักงาน ก.ล.ต. และนำส่งให้  สำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้บริหาร หรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ หรือวันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 59
  • (2)   บุคคลที่บริษัทฯ กำหนด นอกเหนือจากกรรมการ และผู้บริหาร มีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานการถือหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัทฯ (เอกสารแนบ 2) และนำส่งให้เลขานุการบริษัท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการบริษัท
    •  

6.3.2     การรายงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

  • (1)   กรรมการ และผู้บริหารสี่รายแรกของบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามแบบ 59-2 (เอกสารแนบแนบ 3) ของสำนักงาน ก.ล.ต. และนำส่งให้สำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ มาตรา 59
  • (2)   บุคคลที่บริษัทฯ กำหนด นอกเหนือจากกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี มีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของกลุ่ม่บริษัทฯ (เอกสารแนบ 4) และนำส่งให้เลขานุการบริษัท ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์
    •  

6.3.3     ข้อยกเว้น

  • การเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องจัดทำแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามแบบ 59-2
    1. การเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Offering)
    2. การใช้สิทธิตามหลักทรัพย์แปลงสภาพ
    3. การเสนอขายหุ้นหรือการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (Warrants)    ที่ออกใหม่ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ (Employee Stock Option Program “ESOP”) หรือได้รับหลักทรัพย์จากโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program “EJIP”)
    4. การรับหลักทรัพย์โดยทางมรดก
    5. การโอน หรือ รับโอนหลักทรัพย์ จากการวางเป็นประกันการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

6.4   การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เข้าข่ายการซื้อขายหลักทรัพย์ตามนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ ไม่บังคับใช้ในกรณีการเข้าถือหลักทรัพย์ หรือรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (Tender Offer)

7. บทลงโทษกรณีฝ่าฝืนนโยบาย

กรรมการ และผู้บริหาร ที่ทำการฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าวอาจมีความรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ

8. การทบทวนนโยบาย

เลขานุการบริษัทต้องทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ และเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติหากมีการเปลี่ยน แปลง

9. การติดตามดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย

    – กำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร 4 รายแรกนับจากกรมการผู้จัดการรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 ภายใน 3 วันทำการ หลังจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน
    – กรรมการและผู้บริหารที่ทำการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์จะต้องส่งสำเนารายงานดังกล่าวจำนวน 1 ชุด ให้แก่ สำนักเลขานุการบริษัท เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    – เลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รวบรวมรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของกรรมการบริษัทเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทในแต่ละไตรมาส เลขานุการบริษัทต้องทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ และเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติหากมีการเปลี่ยน แปลง

10. กรณีมีข้อสงสัย

หากกรรมการ และผู้บริหาร มีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้ หรือไม่แน่ใจว่าข้อมูลภายในที่มีสาระสำคัญนั้นได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วหรือไม่ หรือจะสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ในสถานการณ์ใดๆ กรุณาติดต่อฝ่ายเลขานุการบริษัทโดยผ่านช่องทาง ดังนี้ 

ฝ่ายเลขานุการบริษัท
บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : 185 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ : 02-871-3191 ต่อ 229
E-mail : pawarisa@krungdhepsophon.com

ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563