การกำกับดูแลกิจการ
- หน้าหลัก
- >>
- การกำกับดูแลกิจการ
- >>
- ความรับผิดชอบของกรรมการ
ความรับผิดชอบของกรรมการ
กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทน บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน)
กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ยกเว้นนายโอวาท พันธุ์ปรีชากิจ และนายอมร อัศวานันท์ ไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อ
บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติที่ประชุม ผู้ถือหุ้น รวมทั้งการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
คณะกรรมการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท และการกำกับดูแลให้การบริหารจัดการเป็นไปตามเป้าหมาย และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น อยู่ในกรอบของการมีจริยธรรมที่ดี และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการทำหน้าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกำหนดค่าตอบแทน ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการต้องไม่อยู่ในตำแหน่งประธานกรรมการ
คณะกรรมการกำหนดให้เรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการที่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
การกำหนดนโยบาย
ด้านบุคลากร
แต่งตั้งบุคคล และ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่สำคัญมากำกับดูแลและบริหารงาน ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้
– คณะกรรมการตรวจสอบ
– คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
– คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
ฝ่ายบริหาร ดังนี้
– กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน)
– กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคดับบลิวซี โลจิสติก และ บริษัท กรุงเทพคลังเอกสาร จำกัด
– ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายการเงินและบัญชี
งาน
อนุมัตินโยบาย (แผนยุทธศาสตร์ แผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ โครงสร้างองค์กร โครงสร้างเงินเดือน สวัสดิการ ผลประโยชน์อื่น และกรอบอัตรากำลัง) ของบริษัท
การเงิน
อนุมัติแผนงบประมาณดำเนินงานประจำปี โดยมีเป้าหมายข้อมูลหลักทางการเงิน ทั้งด้านรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ
– งบประมาณลงทุน
– งบประมาณดำเนินการ
กำกับดูแลการบริหารงานของกรรมการผู้จัดการ ให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ การปฏิบัติเกี่ยวกับรายการเกี่ยวโยง
เพื่อให้เป็นตามมาตรา 89/2 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่ประชุม คณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้พิจารณาอนุมัติในหลักการให้ฝ่ายจัดการสามารถอนุมัติ การทำธุรกรรมในกรณีของบริษัทและบริษัทย่อยมีรายการระหว่างกันกับกรรมการบริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากธุรกรรม เหล่านั้นเป็นรายการธุรกิจปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป ในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึง กระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็น กรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ฝ่ายจัดการรายงานให้คณะกรรมการทราบทุกไตรมาส เมื่อได้มีการ อนุมัติรายการดังกล่าว
การประชุมของคณะกรรมการ
คณะกรรมการกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
ประธานกรรมการเป็นผู้บริหารการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กำหนดระเบียบวาระการประชุม สรุปประเด็นเรื่องในวาระการประชุม เพื่อการพิจารณาของกรรมการ เปิดโอกาส และสนับสนุนให้กรรมการแต่ละคนแสดงความคิดเห็น และประมวลความเห็นเสนอข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม
การประชุมของกรรมการ ผู้มีส่วนได้เสียโดยนัยสำคัญในเรื่องที่พิจารณา ต้องออกจากที่ประชุมระหว่างการพิจารณาเรื่องนั้น ๆ และการพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใด กรรมการมีสิทธิขอดูหรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ตลอดจนเสนอให้จัดหาที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก มาให้ความเห็นโดยบริษัท เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
การลงมติให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากและหากมีกรรมการคัดค้านมติดังกล่าว ให้บันทึกคำคัดค้านไว้ในรายงาน การประชุม